ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

พันเอกหญิง สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าเสาวภาผ่องศรี เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระประสูติแต่สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา (เจ้าจอมมารดาเปี่ยม) เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2406 เป็นพระเจ้าลูกเธอชั้นเล็ก โดยรับราชการสนองพระเดชพระคุณเป็นพระมเหสีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยพระเชษภคินีอีก 2 พระองค์ ได้แก่ พระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ (สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี) และพระองค์เจ้าสว่างวัฒนา (สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า)

เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสยุโรปนั้น พระองค์ทรงดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ทำให้พระองค์ทรงเป็นปฐมบรมราชินีนาถของประเทศไทย มีตำแหน่งเป็นสมเด็จพระอัครมเหสี ทรงเป็นสมเด็จพระบรมราชชนนีในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว นอกจากนี้ ยังทรงดำรงตำแหน่งเป็นองค์สภานายิกา สภากาชาดไทยพระองค์แรกอีกด้วย

สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เป็นพระเจ้าลูกเธอพระองค์ที่ 66 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นลำดับที่ 4 ซึ่งประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเปี่ยม (ภายหลังได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา) ทรงพระราชสมภพในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันศุกร์ เดือนอ้าย แรม 7 ค่ำ ปีกุน เบญศก จ.ศ. 1225 ซึ่งตรงกับวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2407 พระองค์ได้รับพระราชทานพระนามจากสมเด็จพระบรมราชบิดาเมื่อวันอังคาร เดือนยี่ แรม 10 ค่ำ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

"ศุภมัสดุ สมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้ากรุงสยามผู้พระบิดา ขอตั้งนามบุตรีหญิงซึ่งประสูติแต่เปี่ยมเป็นมารดา ในวันศุกร์ เดือนอ้าย แรม 7 ค่ำ ปีกุน เบญศกนั้นว่าดังนี้ พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาผ่องศรี วรรคบริวารนามเดิมเป็นอาทิและอันตอักษร ขอพรคุณพระรัตนตรัยและพรเทวดารักษาพระนครและพระราชวัง จงได้โปรดให้เจริญชนมายุพรรณสุขพลปฏิภาณสารสิริสมบัติศรีสวัสดิพิพัฒมงคล ศุภผลพิบูลยทุกประการ เทอญ"

นอกจากนี้ พระองค์ยังได้รับพระราชทานพรเป็นภาษามคธจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้ทรงพระนิพนธ์แปลเป็นภาษาไทยไว้ว่า

"ขอธิดาของเรา ซึ่งเป็นบุตรีอันดีของเปี่ยมคนนี้ จงปรากฏโดยนามว่าโสภาสุทธสิริมตี (เสาวภาผ่องศรี) เถิด ขอเธอจงมีสุข แลไม่มีโรค มีอิสริยยศประเสริฐสุด ปราศจากโทษ อันใคร ๆ อย่าคุมเหงได้ทุกเมื่อ จงเป็นคนมั่งคั่ง มีทรัพย์ใหญ่ มีโภคสมบัติมาก อันคนเป็นอันมากนิยมนับถือ ขอเธอจงรักษาเกียรติยศของบิดามารดาไว้ทุกเมื่อ จงทำนุบำรุงพี่น้องชายหญิงอันดี ขออานุภาพพระรัตนตรัยมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น จงรักษาเธอทุกเมื่อเทอญ"

พระองค์มีพระเชษฐาและพระขนิษฐาร่วมพระมารดาทั้งสิ้น 6 พระองค์ ได้แก่ พระองค์เจ้าอุณากรรณอนันตนรไชย พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์ พระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระองค์เจ้าสว่างวัฒนา พระองค์เจ้าเสาวภาผ่องศรี และ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ

เมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์นั้น พระองค์ทรงเป็นผู้ที่มีพระปัญญาที่เฉียบแหลมมาก แต่ก็ทรงไม่เชื่อฟังมากเช่นเดียวกัน เช่น เวลาทรงพระอักษร ก็ทรงไม่ยอมทรงอ่านดัง ๆ พระอาจารย์อ่านถวายไปเท่าใด พระองค์ท่านก็ทอดพระเนตรตามไปเฉย ๆ พระองค์ทรงใฝ่พระทัยในการศึกษาหมั่นซักถามแสวงหาความรู้ด้วยพระวิริยะอุตสาหะและทรงศึกษาวิชาการต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็วอันเป็นเครื่องแสดงถึงการที่ ทรงมีพระวิริยะพระปัญญา ปราดเปรื่องหลักแหลม

เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมขุนพินิตประชานารถ เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติขึ้นเป็นรัชกาลที่ 5 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ พระฐานันดรศักดิ์ของพระองค์เจ้าเสาวภาผ่องศรี จึงเปลี่ยนเป็น พระเจ้าน้องนางเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาผ่องศรี

พระเจ้าน้องนางเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาผ่องศรี เมื่อทรงเจริญพระชันษาขึ้น พระองค์ก็มีพระสิริโฉมงดงาม เป็นที่พอพระทัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงเข้ารับราชการเป็นพระภรรยาเจ้าในรัชกาลที่ 5 ขณะที่มีพระชนม์ 15 พรรษา โดยมีพระองค์เจ้าหญิง พระเจ้าลูกเธอในรัชกาลที่ 4 ที่รับราชการเป็นพระภรรยาเจ้าในช่วงเวลาที่ใกล้เคียงกับพระองค์ ได้แก่ พระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระองค์เจ้าสุขุมาลมารศรี และพระองค์เจ้าสว่างวัฒนา โดยครั้งแรกที่พระองค์ได้รับราชการเป็นพระภรรยาเจ้าในรัชกาลที่ 5 นั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนาพระองค์ให้เป็น พระนางเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาผ่องศรี และในปีถัดมาก็ได้รับการสถาปนาเป็น พระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระราชเทวี

พระภรรยาเจ้าทั้ง 4 พระองค์มีพระเกียรติยศเสมอกันทุกพระองค์ พระเกียรติยศที่จะเพิ่มพูนนั้นขึ้นอยู่กับการมีสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเป็นสำคัญ จนกระทั่ง ในปี พ.ศ. 2423 เกิดเหตุการณ์สิ้นพระชนม์ของพระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์โดยเรือพระประเทียบล่มระหว่างโดยเสด็จแปรพระราชฐานไปยังพระราชวังบางปะอิน จึงทำให้เกิดปัญหาในการจะออกพระนามในประกาศทางราชการ ซึ่งนำมาสู่การจัดระเบียบภายในพระราชสำนักว่าด้วยตำแหน่งพระภรรยาเจ้าให้เป็นที่เรียบร้อย โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ เป็น "สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระราชเทวี" ซึ่งถือเป็นสมเด็จพระอัครมเหสีพระองค์แรก และ พระองค์เจ้าสว่างวัฒนา ขึ้นเป็นสมเด็จพระอัครมเหสีพระองค์ต่อไป เฉลิมพระนามาภิไธยว่า "สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระราชเทวี" โดยในวันงานพระเมรุมาศสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ฯ ก็ได้มีประกาศยืนยันฐานะสมเด็จพระอัครมเหสีให้ปรากฏเด่นชัดยิ่งขึ้นโดยเพิ่มคำว่า “บรม” เข้าไปในคุณศัพท์ของคำว่าราชเทวีอีกหนึ่งคำ ดังนั้น พระนางเจ้าสว่างวัฒนาจึงได้รับการเฉลิมพระนามาภิไธยเป็น "สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี" ซึ่งเป็นตำแหน่งสมเด็จพระอัครมเหสี เนื่องจากพระองค์เป็นพระราชชนนีในสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สมเด็จพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในรัชกาลที่ 5 ส่วนพระองค์เจ้าเสาวภาผ่องศรีนั้นได้รับการสถาปนาเป็น พระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระวรราชเทวี เนื่องจากพระองค์ทรงเป็นพระอัครมเหสีลำดับที่สาม

ภายหลังการสวรรคตของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ พระราชโอรสในพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระวรราชเทวี ขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมารพระองค์ต่อไป พร้อมทั้งสถาปนาพระอิสริยยศของพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระวรราชเทวี ขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระอรรคราชเทวี ในฐานะเป็นพระชนนีในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ พระองค์ใหม่ ซึ่งเป็นพระยศพระอัครมเหสีเช่นเดียวกับสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี

เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสยุโรปในปี พ.ศ. 2440 เพื่อตรวจดูแบบแผนราชการแล้วนำมาเปรียบเทียบปรบปรุงการปกครองของราชอาณาจักรสยาม พร้อมกันนั้นก็เพื่อทรงเจริญสัมพันธไมตรีกับอารยประเทศในยุโรป พระองค์จึงทรงมอบหมายให้สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระอัครราชเทวี ทรงดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ซึ่งทรงปฏิบัติราชการแผ่นดินได้เรียบร้อยเป็นที่พอพระราชหฤทัยยิ่งนัก ด้วยพระองค์ทรงพระปรีชาสามารถจรรยนุวัติปฏิบัติ ประกอบด้วยพระราชอัธยาศัยสภาพสมด้วยพระองค์เป็นขัติยนารีนาถ และกอปรด้วยพระกรุณภาพยังสรรพกิจทั้งหลายที่ได้พระราชทานปฏิบัติมาล้วนแต่เป็นเกียรติคุณแก่ประเทศสยามทั่วไป จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เฉลิมพระนามาภิไธย จาก สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระอัครราชเทวี เป็น "สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ" เป็นสมเด็จพระบรมราชินีนาถพระองค์แรกในประเทศไทย

ส่วนคณะที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน ประกอบไปด้วย สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจาตุรนตรัศมี กรมพระจักรพรรดิพงศ์ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระภาณุพันธุวงศ์วรเดช พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทวะวงศวโรปการ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ และเจ้าพระยาอภัยราชาสยามานุกูลกิจ (โรลังยัคมินส์) โดยมีพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าประวิตรวัฒโนดม เป็นราชเลขานุการ ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน

เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 6 แห่งราชวงศ์จักรี พระองค์ทรงพระราชดำริว่า พระราชประเพณีได้เคยมีมาเมื่อสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติบรมราชาภิเษกใหม่ ได้ทรงสถาปนาพระราชอิสริยยศแลเฉลิมพระปรมาภิไธยสมเด็จพระพันปีหลวงฉลองพระเดชพระคุณเป็นปฐม เพื่อเป็นศุภมงคลและราชสมบัติ พระองค์จึงมีพระบรมราชโองการมารพระบัณฑูรสุรสิงหนาทดำรัสสั่งให้ประกาศเฉลิมพระนามาภิไธยสมเด็จพระบรมราชชนนีว่า "สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี" บางครั้งออกพระนามว่า "สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพระพันปีหลวง" และทูลเชิญพระองค์เสด็จมาประทับที่พระราชวังพญาไท ซึ่งพระองค์ก็เสด็จประทับที่พระราชวังแห่งนี้จนกระทั่งสวรรคต

สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี ทรงมีพระราชโอรสและพระราชธิดา 14 พระองค์ ซึ่งต้องมีพระราชภาระในการเลี้ยงดู ซึ่งพระราชโอรส 2 พระองค์คือ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ เป็นพระเจ้าแผ่นดิน อีกทั้งพระราชโอรสองค์อื่น ๆ ก็ได้เดินตามรอยเบื้องพระยุคลบาท นำพาความเจริญสู่ชาติบ้านเมืองเป็นอันมาก อาทิ สมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ซึ่งนับว่าพระองค์เป็นพระบิดาผู้พระราชทานกำเนิดโรงเรียนเสนาธิการทหารบก

หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตนั้น สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี ก็ทรงทุกข์ระทมในพระราชหฤทัย ทำให้พระองค์ทรงประชวรและปฏิบัติพระราชกรณียกิจไม่ได้มากหลังจากนั้น พระองค์ต้องประทับอยู่แต่ที่พระราชวังพญาไท ไม่ให้ผู้ใดรบกวน ห้ามไม่ให้รถยนต์ รถม้าถนนใกล้ขับเคลื่อนเสียงดังโดยเด็ดขาด เหตุที่ห้ามก็เพราะว่า พระองค์จะทรงบรรทมหลับในเวลากลางวัน แม้แต่เสียงนกร้อง ก็ต้องมีข้าราชบริพารในวังเอาไม้ส่องไปเป่าไล่ เพื่อไม่ให้ส่งเสียงรบกวนพระองค์ นายแพทย์สมิธ ซึ่งเป็นแพทย์ชาวอังกฤษที่มีหน้าที่ถวายการรักษาพระอาการของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี เขียนไว้ในหนังสือ "A physician at the court of Siam" ว่า

"พระนางตื่นบรรทมระหว่างหกโมงถึงสองทุ่ม เมื่อทรงเปลี่ยนฉลองพระองค์เสร็จแล้วเจ้าพนักงานก็จะโทรศัพท์มาตามหมอสมิธที่บ้าน เพื่อให้มาตรวจพระอาการ ถ้ามีอาการประชวรก็จะจัดยาให้ แต่ถ้าไม่มีอาการประชวร พระนางก็ทรงโปรดสนทนาเกี่ยวกับประเทศต่าง ๆ ในยุโรป ทรงมีความรู้อย่างดีลิศเกี่ยวกับพระราชวงศ์ในมหาประเทศต่าง ๆ ในด้านตะวันตกของโลก ไม่ทรงโปรดอ่านหนังสือเอง แต่จะให้ข้าราชบริพารอ่านให้ฟังเสมอ ก่อนบรรทม จะต้องมีคนอ่านวรรณคดีหรือหนังสือพิมพ์ถวาย"

สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี ทรงพระประชวรเรื้อรัง มีอาการไข้ รวมทั้งมีอาการพิษขึ้นในพระอันตะ (ลำไส้ใหญ่) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตนั้น ได้นำความวิปโยคแสนสาหัส ที่กระทบกระเทือนพระราชหฤทัยพระองค์ประทับอยู่แต่ประแท่นบรรทม ทรงไม่ออกกำลังกาย ทำมีให้น้ำหนักพระองค์มาก จึงทำให้กระดูกเปราะ จะเสด็จไปที่ใดก็ลำบากและพระองค์ทรงพระประชวรอยู่เนือง ๆ มีพระโรคาพาธมาประจำพระองค์คือ พระวักกะอักเสบเรื้อรัง ซึ่งแพทย์หลวง ได้ถวายการรักษาอย่างดีตลอดมา แต่พระอาการไม่ดีขึ้นได้ นายแพทย์สมิธ นายแพทย์ประจำพระองค์ เล่าว่า

"คืนหนึ่งพระนางป่วยหนัก มีอาการอาเจียรทั้งคืน พอตีสองพระนางสิ้นสติปลุกไม่ตื่น มีอาการไข้ขึ้นสูงไม่ได้สติ แต่พระวรกายยังอาเจียร เปรียบเสมือนคนหลับแต่ยังอาเจียรตลอด"

นายแพทย์สมิธระบุว่าเป็นเพราะพระยกนะ (ตับ) วายหรือพระยกนะเสีย ทุกฝ่ายทั้งแพทย์ และข้าราชบริพารช่วยกันเต็มที่ ที่จะรักษาพระองค์ แต่ในเวลา แปดนาฬิกาตอนเช้าวันต่อมา ก็เสด็จสวรรคต มีบันทึกว่า สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถได้ทรงอยู่ดูแลพระมารดาทั้งคืนจนรุ่งเช้า เมื่อข่าวการประชวรหนักของพระองค์ พระโอรส พระประยูรญาติและ ข้าราชบริพารต่างก็มาเฝ้าดูแลพระอาการด้วยความห่วงใย โอรสพระองค์เดียวที่ไม่ได้เสด็จมาเลยก็คือ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีทรงประชวรไข้พระวรกาย ทนพิษไม่ได้ จึงเสด็จสวรรคตวันจันทร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2462 พระชนมายุ 55 พรรษา ณ พระตำหนักพระราชวังพญาไท

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์สรงน้ำพระบรมศพ และโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระโกศพระบรมศพประกอบพระลองทองใหญ่ขึ้นประดิษฐานไว้ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท มุขตะวันตก ภายในพระบรมมหาราชวัง เพื่อทรงบำเพ็ญพระราชกุศลอุทิศถวายสนองพระเดชพระคุณสมเด็จพระบรมราชชนนีและทรงโปรดให้มีการพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ณ เมรุมาศท้องสนามหลวง เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2463 และได้อัญเชิญพระบรมราชสรีรางคารมาประดิษฐาน ณ วัดราชาธิวาสราชวรวิหาร ภายในพระอุโบสถ

พระองค์มีพระราชโอรสพระราชธิดาทั้งสิ้น 14 พระองค์ โดยเป็นพระราชโอรส 7 พระองค์ พระราชธิดา 2 พระองค์ และตกเสีย 5 พระองค์ โดย

สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงมีพระราชหฤทัยตั้งมั่นอยู่ในราชจริยธรรม จนเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยและทรงเมตตากรุณาอย่างที่สุด ซึ่งสามารถจำแนกพระราชจริยวัตร โดยสังเขปดังนี้

จากการที่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ทรงได้รับการสถาปนาไว้ในตำแหน่งพระมเหสีตั้งแต่ทรงพระเยาว์ พระองค์ทรงรู้พระทัยพระราชสวามี โดยได้ทรงถวายงาน และรับใช้ใกล้ชิดเสมอ จึงเป็นที่ทรงโปรดปราน โดยเฉพาะในห้วงเวลาที่วิกฤตต่าง ๆ พระองค์ก็ทรงแบ่งเบา พระราชภาระและทรงกอบกู้สถานการณ์ได้เสมอ อาทิ ในห้วงที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีความทุกข์ในพระราชหฤทัยอย่างแสนสาหัส โดยทรงเก็บพระองค์แต่ในที่ซึ่งมิมีผู้ใดกล้าเข้าเฝ้าในห้วงที่สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี สิ้นพระชนม์ด้วยเหตุเรือพระที่นั่งล่มในแม่น้ำเจ้าพระยา ขณะเสด็จสู่พระราชวังบางปะอิน เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2423 นั้น พระองค์ก็ทรงเอาพระทัยใส่ และทรงเข้าเฝ้าด้วยพระอุตสาหะ จนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงคลายระทมทุกข์ ทรงพระเกษมสำราญ สามารถบริหารราชการแผ่นดินต่อไปได้ในที่สุด หรือในห้วงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงประชวรหนักใกล้สวรรคต พระองค์ก็ทรงเฝ้าถวายการดูแล เป็นแม่กองควบคุมการถวายพยาบาล มิได้ห่าง จนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสู่สวรรคาลัย

สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงทรงให้เกียรติพระเชษฐภคินีโดยมิเคยเสด็จพระราชดำเนินนำหน้า และทรงหมอบถวายบังคมสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เมื่อเสด็จออกท่ามกลางพระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายใน ด้วยความเคารพเสมอ

พระองค์ทรงมีน้ำพระทัยกว้างโดย มิเคยรังเกียจข้าบาทบริจาริกาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ทรงสบายพระราชหฤทัยในการบริหารบ้านเมือง ซึ่งพระตำหนักที่พระองค์ประทับนั้นกล่าวกันว่าเป็นที่ที่มีความสนุกสนานครื้นเครงที่สุดในวังหลวง ข้าหลวงพนักงานก็มีการทำงาน ฝีมือกันมาก โดยมีข้าบาทบริจาริกาที่สังกัดในพระตำหนักของพระองค์นี้ประกอบด้วย เจ้าจอมมารดาชุ่ม เจ้าจอมมารดาเลื่อน เจ้าจอมมารดาแส เจ้าจอมอ้น และเจ้าจอมศรีพรหม ด้วยน้ำพระทัยที่เมตตานี้ จึงมีผู้เข้าถวายตัวและถวาย ลูกหลานอยู่ในพระราชสำนักจำนวนมากหลายรุ่น

สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงเป็นครูผู้บำเพ็ญวิทยาทานต่อเหล่าพระประยูรญาติราชนัดดาเชื้อพระวงศ์และเยาวกุมารีทั้งหลาย ทรงสนพระราชหฤทัยในงานพัฒนาสตรี ซึ่งในห้วงดังกล่าว มีโรงเรียนสำหรับเด็กหญิงเพียงแห่งเดียว คือโรงเรียนกุลสตรีวังหลัง ก่อตั้งโดยคณะผู้สอนคริสต์ศาสนาจากสหรัฐอเมริกา

พระองค์ทรงสนพระทัยงานทางศิลปะ งานคหกรรมศาสตร์ ด้านต่าง ๆ อาทิ งานเย็บปัก ถักร้อย งานดอกไม้ งานปรุงเครื่องร่ำน้ำหอม งานแกะสลักผลไม้ งานปักสะดึงตลอดจนวรรณคดี ทั้งยังโปรดศิลปะทางดนตรี นาฏศิลป์ และทรงดูแลการจัดสร้างพร้อมทั้งทรงรับพระราชภาระในงาน พิธีเฉลิมฉลอง พระตำหนักสวนสี่ฤดู พระราชวังดุสิต และพระที่นั่งวิมานเมฆ

พระภูษาทรงนั้นทรงโปรดชุดไทยเดิม เมื่อมิได้ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจ โดยทรงโปรดสีที่ไม่ฉูดฉาด เครื่องประดับ ก็มิทรงโปรดประดับเกินงาม ซึ่งพระองค์ทรงดัดแปลงผสมผสานรูปแบบตะวันตก ให้เกิดความงดงามพอดี และเข้ากับสมัย ซึ่งทำให้บรรดาพระบรมวงศานุวงศ์ และกุลสตรีชาววังดำเนินรอยตามพระราชนิยม อันก่อให้เกิดความกลมกลืน ทั้งแบบไทยและสากล นับว่าพระองค์ทรงเป็น “ผู้นำศิลปะการแต่งกายของสตรีไทย ในยุคที่ก้าวสู่ความทัดเทียมอารยประเทศ” อย่างแท้จริง

สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงสนพระทัยในการพัฒนาสตรีและทรงมีพระราชดำริว่าความรุ่งเรืองของบ้านเมืองย่อมอาศัยการศึกษาเล่าเรียนที่ดี ดังนั้นในปี พ.ศ. 2444 จึงทรงบริจาคพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จัดตั้งโรงเรียนสำหรับเด็กหญิงแห่งที่สองขึ้นในกรุงเทพมหานคร ทรงพระราชทานชื่อว่า “โรงเรียนสตรีบำรุงวิชา” และในปี พ.ศ. 2447 ทรงเปิดโรงเรียนสำหรับกุลธิดาของข้าราชสำนักและบุคคลชั้นสูงคือ “โรงเรียนสุนันทาลัย” ให้การอบรมด้านการบ้านการเรือน กิริยามารยาท และวิชาการต่าง ๆ อีกทั้งทรงจ่ายเงินเดือนครู และค่า ใช้สอยต่าง ๆ สำหรับเป็นค่าเล่าเรียนแก่กุลบุตรกุลธิดาของข้าราชการใหญ่น้อยและราษฎรอีก เป็นจำนวนมาก ทรงบริจาคพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ให้ตั้งโรงเรียน และจ่ายเงินเดือนครูในโรงเรียนต่าง ๆ เช่น

สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงเป็นองค์อัครศาสนูปถัมภิกาในบวรพุทธศาสนา โดยบำเพ็ญพระราชกุศลมิได้ขาดทรงบริจาคพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อสร้างเจดีย์วัตถุ พระพุทธรูป พระธรรมคัมภีร์ เช่น พระไตรปิฎกสยามรัฐในรัชกาลที่ห้า ทรงสร้างพระวิหารสมเด็จที่วัดเบญจมบพิตร และปฏิสังขรณ์พระอารามต่าง ๆ ทั้งในพระนครและหัวเมืองต่าง ๆ แม้พระพุทธเจดียฐาน นอกพระราชอาณาจักรก็ได้ทรงปฏิสังขรณ์ด้วยกัน

โดยนอกจากการบำเพ็ญพระราชกุศลเป็นพิเศษตามพระราชจารีตประเพณีที่จัดขึ้น อาทิ วันประสูติ พระราชพิธีโสกัณฑ์ และ วันสำคัญอื่น ๆ แล้ว ยังได้ทรงบริจาคพระราชทรัพย์ถวายเป็นกิจวัตรแด่พระภิกษุสงฆ์และสามเณร พร้อมทั้งพระราชทานค่าน้ำประปา ค่าชำระปัดกวาด รักษาพระอาราม และการทำนุบำรุงซ่อมแซม ดูแลรักษาอย่างสม่ำเสมอมิได้ขาด

สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง มักตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินประพาสหัวเมืองชนบทในพระราชอาณาจักรเพื่อเยี่ยมเยียนราษฎรในชนบท และเสด็จประพาสต่างประเทศเสมอ ๆ ซึ่ง บางคราวต้องเสด็จพระราชดำเนินรอนแรมไปในถิ่นทุรกันดาร การคมนาคมไม่สะดวกเช่นในปัจจุบัน โดยต้องเสด็จผ่านบ้านป่า บางคราว ต้องทรงช้าง ทรงม้าหรือประทับเกวียนเป็น พระราชพาหนะ ซึ่งพระองค์มิได้ทรงหวาดหวั่น ตามเส้นทางเสด็จพระราชดำเนินดังกล่าวนั้น ประชาราษฎรจะมาเฝ้ารับเสด็จ และเมื่อพระองค์ทรงพบเห็นก็ทรงพระราชทานเครื่องอุปโภคบริโภคให้กับราษฎร ตลอดจนที่แห่งใดที่ถนนหนทาง สะพานหรือที่สาธารณะอื่น ๆ ชำรุดทรุดโทรม ก็ทรงบริจาคพระราชทรัพย์ ส่วนพระองค์ทะนุบำรุงซ่อมสร้างให้ดีขึ้น ส่วนตำบลใดขาดน้ำบริโภคใช้สอย ก็โปรดเกล้าฯ ให้ขุดบ่อน้ำสาธารณะ และปีใดที่มีอากาศหนาวก็ทรงพระราชทานผ้าห่มกันหนาว รวมทั้งตำบลใดที่ขาดแคลนหมอและยารักษาโรคก็จะโปรดเกล้าพระราชทานพระราชทรัพย์ ให้ข้าราชบริพารจัดซื้อมาแจกจ่าย

ในการเสด็จประพาสนอกพระราชอาณาจักรนั้น พระองค์ก็ทรงตามเสด็จด้วยในบางครั้ง เช่น การเสด็จประพาสเมืองสิงค์โปร์ ชวา และมลายู

สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงมีความห่วงใยความเจ็บไข้ได้ป่วยของราษฎรและทหารเป็นอย่างยิ่ง โดยทรงสนับสนุนการก่อตั้งโรงพยาบาลศิริราชซึ่งนับว่าเป็นโรงพยาบาลแห่งแรกของประเทศไทย และพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ ตั้งโรงเรียนแพทย์ผดุงครรภ์ขึ้นในโรงพยาบาลแห่งนี้สำหรับเป็นสถานศึกษาวิชาพยาบาลและผดุงครรภ์ของสตรี ทั้งยังทรงจ่ายเงินเดือนแพทย์ มิชชั่นนารี ช่วยเหลือค่าใช้จ่าย ตลอดจนค่าอาหารของนักเรียน และพระราชทานเงินให้แก่หญิงอนาถา ที่มาคลอดบุตรในโรงพยาบาลศิริราชเพื่อเป็นค่าใช้สอยทุกคน

พระองค์ทรงเป็นผู้นำชักชวนสตรีไทย ให้เลิกการคลอดบุตรในลักษณะที่ต้องอยู่ไฟมาใช้วิธีการพยาบาลแบบสากล ที่สุขสบายและได้ผลดีกว่า นอกจากนี้พระองค์ยังมีพระราชดำริจัดตั้งสภาอุณาโลมแดงและได้ทรงบริจาคพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จัดสร้างขึ้นใน พ.ศ. 2436 เพื่อเป็นศูนย์กลางบรรเทาทุกข์ช่วยเหลือผู้เจ็บป่วย ซึ่งต่อมาภายหลังที่ได้เกิดความขัดแย้งระหว่างประเทศไทยกับประเทศฝรั่งเศส เรื่องเขตแดนริมฝั่งแม่น้ำโขง เมื่อ พ.ศ. 2436 อันนำมาซึ่งการบาดเจ็บให้กับทหารและราษฎรจำนวนมาก สภาอุณาโลมแดง ได้เป็นศูนย์กลางในการบรรเทาทุกข์ลงอย่างมาก หลังจากวิกฤตการณ์ดังกล่าว สภาอุณาโลมแดง จึงใช้ชื่อว่า สภากาชาดสยาม ซึ่งแปรเปลี่ยนเป็น โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และสภากาชาดไทยในปัจจุบัน ซึ่งนับว่าเป็นองค์กรสาธารณประโยชน์ องค์กรแรกในประเทศไทย ทั้งนี้สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี (สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า) เป็นสภาชนนี และพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระวรราชเทวี (สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง) ทรงดำรงตำแหน่งสภานายิกา ซึ่งพระองค์ได้ทรงดำรงตำแหน่งองค์สภานายิกาสืบต่อมารวมเวลาถึง 26 ปี อีกทั้งพระองค์ยังได้ทรงบริจาคพระราชทรัพย์ แก่โรงพยาบาลหลายแห่งทั้งใน กรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัด

สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงโปรดการขี่ม้าและโปรดการทหาร โดยมักจะเสด็จไปทอดพระเนตรการซ้อมรบหรือที่เรียกว่า “การประลองยุทธ” ในต่างจังหวัดเกือบทุกปี บางครั้งประทับร่วมเสวยพระกระยาหาร ในเต้นท์ผู้บัญชาการรบท่ามกลางแม่ทัพนายกอง และเคยมีพระราชดำรัสในเวลาการชุมพลทหารครั้งใหญ่ ตอนหนึ่งว่า “ถึงแม้ฉันเป็นหญิงก็จริง แต่ก็มีใจเหมือนท่านทั้งหลายซึ่งเต็มไปด้วยความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เมื่อมีเหตุการณ์ใดเกิดขึ้น ในเวลาหนึ่งเวลาใดก็ดี ฉันตั้งใจที่จะ ช่วยเหลือผู้เป็นนักรบอยู่เสมอไม่ถอยเลย” พระองค์มีพระราชหฤทัยห่วงใยในความทุกข์สุขของทหาร โดยพระราชทานเครื่องอุปโภค บริโภคแก่เหล่าทหาร หรือเมื่อทหารประสบอุปัทวเหตุ เจ็บป่วย ก็จะทรงส่งแพทย์หลวงไปรักษา

ในปี พ.ศ. 2454 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระองค์ ได้เสด็จพระราชดำเนินเปิดทางรถไฟ สายกรุงเทพมหานครถึงจังหวัดนครราชสีมา และได้เข้าไปในค่ายทหาร ทรงเปิดสโมสรนายทหาร และทรงพระราชทานนามว่า "สโมสรร่วมเริงไชย" และทอดพระเนตรการแสดง ของหน่วยทหารต่าง ๆ ในค่ายบริเวณหนองบัว โดยกรมทหารม้าที่ 5 ได้ทำการแสดงบนหลังม้า และทำการแปรขบวน กองร้อย ทหารม้าทั้งกองร้อย โดยได้ควบม้าฮ่อเข้ามาหยุดแสดง ความเคารพต่อหน้าที่ประทับ เป็นที่พอพระราชหฤทัย ของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ เป็นอย่างยิ่ง จึงได้ทูลขอ หน่วยทหารม้าหน่วยนี้ เป็นหน่วยรักษาพระองค์ แต่พระบาทสมเด็จพระจุลเจ้าเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังมิได้ทรงพระราชทาน เนื่องจากยังไม่เคยมีในพระราชประเพณีมาก่อน ครั้นต่อมา ในปีพ.ศ. 2545 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้ทรงถวายตำแหน่งผู้บังคับการพิเศษกรมทหารม้าที่ 5 (ปัจจุบัน ได้แปรสภาพหน่วยเป็น กองพันทหารม้าที่ 6) แด่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี ตามคำสั่งกลาโหม ที่ 373/26471 ลงวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2545 เรื่อง ถวายตำแหน่งผู้บังคับการพิเศษ ความว่า

"พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณารับตำแหน่งผู้บังคับการพิเศษ กรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์ กรมทหารปืนใหญ่ที่ 6 กรมทหารปืนใหญ่ที่ 10 กรมทหารราบที่ 7 กรมทหารราบที่ 8 กรมทหารราบที่ 9 ทรงถวายตำแหน่งผู้บังคับการพิเศษ กรมทหารม้าที่ 5 แด่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พระราชทานตำแหน่งผู้บังคับการพิเศษ กรมทหารม้าที่ 2 แด่สมเด็จพระนางเจ้าน้องนางเจ้าฟ้ากรมหลวงเพ็ชรบุรีราชสิรินทร ทั้งนี้เพื่อเป็นเกียรติแก่กรมนั้นและกองพลซึ่งกรมนั้นสังกัดอยู่ เพราะฉะนั้นให้เจ้าหน้าที่จ่าย อักษรพระนามาภิไธยย่อ ว.ป.ร. ให้แก่ทหารในกรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์ กรมทหารปืนใหญ่ที่ 6 กรมทหารปืนใหญ่ที่ 10 กรมทหารราบที่ 7 กรมทหารราบที่ 8 กรมทหารราบที่ 9 ติดบ่ายศตามระเบียบ"

อนึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมทหารม้าที่ 5 ติดพระนามาภิไธยย่อ ส.ผ. ของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี เพราะฉะนั้นให้เจ้าหน้าที่จัดทำและจ่ายให้ กรมทหารม้าที่ 5 จึงได้รับโปรดเกล้าให้ติดอักษรพระนามาภิไธยย่อ ส.ผ. ซึ่งเป็นอักษรย่อขององค์สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี กลางอินทรธนูทั้งสองข้าง (ต่อมาได้ปรับเปลี่ยนมาประดับที่หน้าอกเบื้องขวาในปัจจุบัน) และในปี พ.ศ. 2456 สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ทรงพระยศนายพันเอก และได้พระราชทานเงินจำนวน 44,000 บาท เพื่อสร้างโรงม้าขึ้น ในกรมทหารม้าที่ 5 ต่อมากระทรวงกลาโหม ได้ส่งนายดาบจัน เลิศพยาบาล ซึ่งเป็นสัตวแพทย์ ที่สำเร็จการศึกษาจากยุโรปมาประจำหมวดสัตวแพทย์ จึงนับว่าได้เริ่มมีการใช้ยารักษาม้าแบบแผนปัจจุบันเป็นครั้งแรก

สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงสนพระทัยและทรงโปรดด้านการเกษตร ทรงโปรดให้เลี้ยงไก่พันธุ์ ธัญพืช ไม้ดอก ไม้ประดับในบริเวณที่ประทับ

และสำหรับการปลูกข้าวนั้น พระองค์ทรงโปรดเป็นพิเศษ ถึงกับทรงทำด้วยพระองค์เองที่นาหลวงทุ่งพญาไท ซึ่งพระองค์มักจะนำพระบรมวงศานุวงศ์เสด็จไปทรงดำนาเพื่อเป็นการประเดิมชัยในฤดูการทำนา

ความสนพระทัยของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่เกี่ยวกับการทำนา คือในช่วงปลายสมัยรัชกาลที่ 5 ได้ทรงสนพระทัยในเรื่องการทำนา ได้ทรงทำนาที่ทุ่งพญาไทซึ่งจัดเป็นนาหลวง มีเรื่องปรากฏในพระราชหัตถเลขาในรัชกาลที่ 5 ที่พระราชทานเจ้าดารารัศมี ในตอนหนึ่งมีความว่า "กำลังคิดทำนาที่ปลายถนนซังฮี้ในทุ่ง ได้ลงมือซื้อควายเสร็จแล้ว"

และในฉบับลงวันที่ 11 สิงหาคม ร.ศ. 128 มีความว่า "บางกอกเวลานี้ฝนชุกเกือบจะไม่เว้นวัน เรื่องสนุกของชาววังนั้นคือ กำลังคลั่งทำนา ตั้งแต่แม่เล็ก เป็นต้นลงดำเอง เลี้ยงดูกันเป็นหลายวัน ข้อที่เกลียดโคลนเลนนั้นหายหมด ทำได้คล่องแคล่ว ที่โรงนาเป็นที่สบาย องค์อัจฉรและนางชุ่มผลัดกันไปอยู่ที่นั้น พื้นสบายดีขึ้นที่งสองคน องค์อัจฉรถึงเดินได้ไกล ๆ เจ้านายที่เจ็บไข้ออดแอดต่างคนต่างสบายขึ้น เห็นจะเป็นด้วยได้เดินได้ยืนมากนั้นเอง" (พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเรียกสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงว่า "แม่เล็ก")

สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงได้ทรงมีพระราชดำริทรงสร้างสะพานเสาวนีย์ ซึ่งเป็นสะพานข้ามคลองริมทางรถไฟสายเหนือเชื่อมถนนศรีอยุธยาให้ติดต่อกันตลอด เมื่อคราวเฉลิมพระชนมพรรษา 48 พรรษา พ.ศ. 2454 กรมโยธาธิการได้ออกแบบและสร้างถวายตามพระราชเสาวนีย์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2460 พระองค์ได้บริจาคพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ โปรดให้สร้างรูปพระนางธรณีบีบมวยผม ประทานให้เป็นสาธารณสมบัติให้ประชาชนได้ใช้น้ำสะอาดบริโภค โดยน้ำจะไหลจากมวยผมพระแม่ธรณี ลงหม้อน้ำขนาดใหญ่ ปัจจุบันพระแม่ธรณีบีบม้วยผม นับเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่เคารพบูชาของประชาชน ซึ่งรูปพระนางธรณีบีบมวยผมนี้ตั้งอยู่ที่หัวมุมถนนใกล้สะพานผ่านพิภพลีลากับที่โรงพยาบาลปัญจมาธิราชอุทิศ ที่พระนครศรีอยุธยา และบ่อน้ำที่หัวหิน

ในปี พ.ศ. 2445 สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้ทรงตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินเปิดทางรถไฟ สายกรุงเทพฯ ถึงนครราชสีมา

พระพุทธรูปประจำพระชนมวาร สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง สร้างปี พ.ศ. 2438 หล่อด้วยสัมฤทธิ์ กะไหล่ทอง องค์พระสูง 21.35 เซนติเมตร ปัจจุบันอัญเชิญพระพุทธรูปประจำพระชนมวารสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีคู่กับพระโกศพระอัฐิ ในงานบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทาน และการพระราชพิธีสงกรานต์ เป็นต้น เป็นพระพุทธรูปปางรำพึง ซึ่งเป็นปางประจำวันศุกร์

หลังจากที่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงเสด็จสวรรคตแล้วนั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ได้ทรงมีพระราชดำริให้สร้างพระราชานุสาวรีย์ขึ้นหลายแห่ง เพื่อเป็นที่ระลึกถึงสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ โดยแต่ละแห่งนั้น เป็นสถานที่ที่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงเคยเสด็จไปประทับ หรือเป็นสถานที่ที่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถทรงพระราชทานพระราชทรัพย์ในการก่อสร้างขึ้น ซึ่งพระราชานุสาวรีย์บางแห่งก็ได้จัดสร้างขึ้นภายหลังสมัยรัชกาลที่ 6 พระราชานุสาวรีย์ที่สำคัญได้แก่

โรงเรียนวิเชียรมาตุถือกำเนิดขึ้นจากพระราชประสงค์ ของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

จากสมุดหมายเหตุรายวันเล่มแรกของโรงเรียน ถูกบันทึกไว้เป็นความสรุปได้ว่า เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2455 สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ เสด็จประพาสจังหวัดตรัง ประทับพักผ่อนสำราญพระราชอิริยาบถ ณ ตำหนักผ่อนกาย ทรงปรารภว่า พื้นภูมิทำเลตำบลทับเที่ยงนี้เหมาะสมดี ควรมีสถานศึกษาไว้เพาะปลูกปัญญาแก่กุลบุตรกุลธิดาสืบไป จึงได้พระราชทานทรัพย์สินส่วนพระองค์เป็นเงิน 4,000 บาท ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง สร้างโรงเรียนขึ้น และพระราชทานนามให้ว่า โรงเรียนวิเชียรมาตุ ซึ่งหมายความถึง "พระราชชนนีของพระปรเมนทรมหาวชิราวุธพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว"

โรงเรียนราชินีบูรณะก่อตั้งครั้งแรกใน พ.ศ. 2457 โดยใช้ชื่อโรงเรียนว่า "สตรีวิทยา" จากนั้นในปี พ.ศ. 2460 โรงเรียนได้ถูกเพลิงไหม้ จึงได้ให้คุณหญิงทองอยู่ สุนทราชุน เข้ารับพระราชทานทรัพย์ พร้อมที่ดินจากสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถพระพันปีหลวง มาสร้างโรงเรียนรวมถึงอาคารเรียนตามแปลนของกระทรวงธรรมการในสมัยนั้น และจัดพิธีเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2462 โดยสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถพระพันปีหลวง โปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร เสด็จแทนพระองค์ และพระราชทานนามโรงเรียนแห่งนี้ว่า "โรงเรียนราชินีบูรณะ" นับแต่นั้นเป็นต้นมา

วิทยาลัยอาชีวศึกษาเสาวภา เดิมคือ "โรงเรียนเสาวภา" จัดตั้งขึ้นด้วยพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พระพันปีหลวง (พระนามเดิม พระองค์เจ้าเสาวภาผ่องศรี) ทรงบริจาคพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ตั้งโรงเรียนสำหรับสตรี และพระราชทานพระนามาภิไธยของพระองค์เป็นชื่อโรงเรียน ต่อมา เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2523 กระทรวงศึกษาธิการ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “วิทยาลัยอาชีวศึกษาเสาวภา”

เหรียญราชินี มีอักษรย่อว่า ส.ผ. จัดเป็นเหรียญที่ระลึกสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2440 ปัจจุบันจัดเป็นเหรียญที่พ้นสมัยพระราชทาน

เหรียญราชินี เป็นเหรียญที่สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ (พระอิสริยศในขณะนั้น) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นโดยได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตจาก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยขณะนั้นทรงเป็นผู้สำเร็จราชการต่างพระองค์ ระหว่างที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 1 ในเดือนเมษายน - ธันวาคม พ.ศ. 2440

เหรียญราชินี มีชั้นเดียว เป็นเหรียญเงินรูปกลม ด้านหน้า มีพระนามาภิไธยย่อ "ส.ผ." ไขว้ ด้านหลัง มีคำว่า "พระราชทาน" อยู่ขอบเบื้องบน ขอบเบื้องล่างมีคำว่า "ร.ศ.116" ตรงกลางเป็นพื้นเงินเกลี้ยงสำหรับจารึกนามผู้ได้รับพระราชทาน

เหรียญที่ระลึกเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง สร้างขึ้นใน พ.ศ. 2456 เป็นเหรียญที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเป็นที่ระลึกเนื่องในวโรกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงทรงมีพระชนมพรรษครบ 50 พรรษา เหรียญนี้เรียกกันโดยทั่วไปว่า "เหรียญหมู"

อนึ่งเหรียญนี้สร้างขึ้น 2 แบบ อีกแบบหนึ่งต่างกันเฉพาะที่ข้อความที่ด้านหลัง ดังนี้ "'งานเฉลิมพระชนมพรรษา" "" "สมเด็จพระศรีพัชรินทรา" "บรมราชินีนาถ" "พระบรมราชชนนีพระพันปีหลวง"

ตัวเหรียญนั้นมีลักษณะ กลมแบน ขอบเรียบ มีห่วงอยู่ด้านบน ด้านหน้าเป็นรูปหมูลงยาสีชมพู ยืนแท่น หันหน้าทางซ้ายของเหรียญริมขอบมีข้อความว่า "ปีกุน พ.ศ. ๕๖ ของสิ่งนี้เป็นที่รฦก" "ว่าล่วงมาครบ ๕๐ ปีบริบูรณ์" ด้านหลังกลางเหรียญเป็นรูปจักรีริมขอบมีข้อความซ้อน 2 แถว ความว่า "ขอเชิญท่านจงจำรูปหมู่นี้ คือ เสาวภา ซึ่งอุบัติมาเป็นเพื่อน" "ร่วมชาติพบ อันมีใจหวังดีต่อท่านเสมอ"

เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีพระบรมศพสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2463 เพื่อเป็นที่ระลึกในงานพระเมรุของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เหรียญนี้สร้างตามแบบพัดพระพิมานไพชยนต์ ซึ่งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงเขียนทูลเกล้าฯ ถวาย

ตัวเหรียญมีลักษณะเป็นรูปไข่ ขอบเรียบ ด้านหน้า มีคำว่า "ศรี" ภายใต้พระมหามงกุฎ หมายถึง องค์สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ประดิษฐานบนรถพระพิมานไพชยนต์เทียมม้า 4 มีสารถีถือแส้น้ำเสด็จสู่สวรรค์ เบื้องขวาเป็นพญานาค เบื้องบนเป็นสายฟ้า (วชิระ) ซึ่งหมายถึงปีพระราชสมภพและพระราชสัญลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้านหลังตอนบนภายในยกขอบโค้งคล้ายใบเสมา มีพระคาถาจารึกว่า

เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเนื่องในโอกาสครบ 100 ปี การพยาบาลไทย จัดทำขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2538 เพื่อเป็นที่ระลึกเนื่องในโอกาสครบ 100 ปี ของการพยาบาลไทย

ตัวเหรียญมีลักษณะ กลมแบน วงขอบนอกมีเฟืองจักร ด้านหน้า กลางเหรียญมีพระรูปสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ บรมราชชนนีพันปีหลวง ชิดขอบเหรียญด้านซ้ายมีข้อความว่า "สมเด็จพระศรีพัชรินทรา" ด้านขวามีข้อความว่า "บรมราชินีนาถ" ด้านหลัง กลางเหรียญมีอักษรพระนามาภิไธยย่อ "สผ" ภายใต้มงกุฎขัตติยราชนารี ด้านซ้ายมีลายช่อดอกไม้และเลขบอกราคา ด้านขวามีลายช่อดอกไม้และคำว่า "บาท" ชิดวงขอบเบื้องบนมีข้อความว่า "ประเทศไทย" เบื้องล่างมีข้อความว่า "๑๒ มกราคม ๒๕๓๙" "๑๐๐ ปี การพยาบาลไทย"


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เป็นต่อ ขั้นเทพ เป็นข่าว ซีรีส์ คณะนิเทศศาสตร์ ซิทคอม ยีนเด่น (ละครโทรทัศน์) เฮง เฮง เฮง เป็นต่อ นักเขียนบท เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า วอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ปิยะรัฐ ตุ้นทัพไทย อรรถพร ธีมากร ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ระบบทศนิยมดิวอี้ ตึกนิวยอร์กเวิลด์ เทพมารสะท้านภพ ไทเก็ก หมัดทะลุฟ้า สุภาพบุรุษตระกูลหยาง ตำนานเดชนางพญางูขาว เจิ้ง เจียอิ่ง อู๋ จัวซี กู่ เทียนเล่อ มังกรคู่สู้สิบทิศ แม่พระปฏิสนธินิรมล เจมส์ ฟิกก์ ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ โกะโร อินะงะกิ ฉัตรชัย ดุริยประณีต ธงไชย แมคอินไตย์ คิม เบซิงเงอร์ จิม มอร์ริสัน เดวิด คาร์ราดีน บ๊อบ อารัม สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินาแห่งสวีเดน พรรคประชาชนบรูไน แอมโบรสแห่งมิลาน รังสี ทัศนพยัคฆ์ คิเคโร เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ บุษกร ตันติภนา จอห์น เทอร์รี เฟอร์นันโด วาร์กัส ช่วง มูลพินิจ พิศมัย วิไลศักดิ์ พระมเหสีจองซอง การโจมตีท่าเรือเพิร์ล กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Grammy Awards Allmusic ซิงเกิล นักธุรกิจ แร็ปเปอร์ เลสลี นีลเซน มะสึโอะ บะโช นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ผู้รักษาประตู สจวร์ต เทย์เลอร์ แดเนียล เฮนนีย์ แอนนา นิโคล สมิธ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลี กวน ยู คริส โจนนาว ซิลเวอร์แชร์ เค.แมกซ์ ซินบี แตวุง เค-วัน นักมวยไทย อักษรฮันกุล นักบุญเดนิส ออสการ์ ชินด์เลอร์ เช เกบารา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช พชร ธรรมมล คนึงพิมพ์ พรมกร แบรนดอน เราธ์ แผ่นดินถล่ม สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก อนุสาวรีย์วอชิงตัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส แม่พระแห่งลูกประคำ เลย์ เซบัสเตียน โกอาเตส ตะวัน จารุจินดา แอรอน แอชมอร์ ชอว์น แอชมอร์ ชิลเบร์ตู ซิลวา ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ซามี ฮูเปีย โทนี แบรกซ์ตัน ไซมอน โคเวลล์ วลาดิมีร์ ปูติน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก อาคารรัฐสภาไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23406